อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
อุทยานแห่งชาติเขาหลักมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
ได้แก่ เขาหลัก เขาแสงทอง เขาไม้แก้ว และเขาปลายบางโต๊ะ
เป็นป่าประเภทป่าดงดิบมีพันธุ์ไม้ อาทิ ไม้ยาง พะยอม หลุมพอ บุนนาค
ตะเคียนทอง กระบาก มียอด
ความเป็นธรรมชาติของจังหวัดพังงาสะท้อนผ่านการเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง
และหนึ่งในนั้นคืออุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
ซึ่งสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของอุทยานฯ แห่งนี้ ประกอบด้วยป่าดิบชื้น
ป่าชายหาด และป่าชายเลน และมีเทือกเขาสลับซับซ้อน ได้แก่ เขาหลัก เขาลำรู่
เขาแสงทอง เขาไม้แก้ว และเขาปลายบางโต๊ะ มียอดเขาสูงที่สุดประมาณ 1,077
เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ
ของจังหวัดพังงา ได้แก่ แม่น้ำตะกั่วป่าและแม่น้ำพังงา
และยังประกอบด้วยคลองและลำห้วยลำธารเล็ก ๆ มากมาย
ส่วนบริเวณที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
เป็นพื้นที่ชายฝั่งที่ติดกับทะเล เป็นระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย
และกลุ่มปะการัง
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ น้ำตกโตนช่องฟ้า
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ไหลจากหน้าผาสูง 200เมตร
ช่วงที่สวยงามที่สุดคือช่วงเดือนธันวาคม-เดือนมกราคม
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ หาดเขาหลัก มีทัศนียภาพสวยงาม
สามารถชมวิวหรือเล่นน้ำได้ และบริเวณหาดเขาหลักนี้
เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ด้วย หาดเล็ก
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 1.4 กิโลเมตร
มีจุดชมวิวและมีปะการังชายฝั่งที่สวยงาม น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกขนาดกลาง
มีทั้งหมด 5 ชั้น น้ำตกลำพร้าวและน้ำตกหินลาด
เป็นน้ำตกที่มีต้นน้ำเกิดจากคลองปลายบางโต๊ะ
สภาพภูมิอากาศและช่วงเวลาในการท่องเที่ยว เที่ยวได้ตลอดทั้งปี
ที่พักและบริการ อุทยานฯ มีบริการที่พัก สถานที่กางเต็นท์ ราคา 800-1,200
บาทและมีร้านสวัสดิการของอุทยานไว้บริการนักท่องเที่ยว
***ปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติ วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31
สิงหาคม
ที่อยู่ : ตะกั่วป่า, พังงา
เครดิต :
https://1th.me/7fKxj
เกาะปันหยี
เกาะปันหยี หรือ บ้านกลางน้ำ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง
จังหวัดพังงา ชื่อนี้มีที่มาเนื่องจาก “โต๊ะบาบู” ผู้นำ
ชาวอินโดนีเซียอพยพมาเมื่อ 200 ปีก่อน
เมื่อมาเจอเกาะปันหยีได้ขึ้นไปปักธงให้พรรคพวกที่อพยพ
มาด้วยกันรู้ว่าเป็นสถานที่ เหมาะสมที่จะตั้งบ้านเรือน คำว่า “ปันหยี”
แปลว่า “ธง” มีลักษณะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งเรียงราย
อยู่บนทะเลมีที่ดินนิดเดียวซึ่งเอาไว้เป็นที่ สร้างมัสยิดและกุโบว์
ชาวเกาะส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
และสร้างหมู่บ้านแทบทั้งหมดด้านหน้าของหน้าผาหินปูนเหนือน้ำทะเล
ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้าน
ตลอดจนมีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารมากมายบนเกาะ เป็นแหล่งที่
นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาแวะเยี่ยมชมมีสินค้าที่ระลึกจำหน่าย เช่น
ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย ผ้าบาติก สร้อย กำไล แหวน ที่ทำมา จากหอยมุก
และยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก เช่น น้ำพริกกุ้งเสียบ
กะปิและเป็นจุดพักทานอาหาร นักท่องเที่ยว มักนิยมมาทาน
อาหารกลางวันที่เกาะปันหยี
ที่อยู่ : เกาะปันหยี ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา จ.พังงา 82000
ทะเลแหวกแนวสันหลังมังกร (เกาะยาวน้อย)
ทะเลแหวกแนวสันหลังมังกร จะปรากฏให้เห็นในช่วงน้ำลดตลอดความยาวคดเคี้ยวกว่า
2 กิโลเมตร จุดแห่งนี้ อยู่ห่างจากเกาะยาวน้อย ประมาณ 3 กิโลเมตร
เป็นดั่งสาวน้อยบริสุทธิ์สดใส นอนเปลือยเผยโฉมความงาม ทอดกายเป็นแนวยาว
กลางผืนน้ำทะเล สีเขียวคราม ห้อมล้อมด้วยสายตาของหมู่เกาะใหญ่น้อย
ที่คอยระแวดระวังภัย มิให้ใครมาปองร้ายเธอ
จนกลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง เป็นสวรรค์ของนักถ่ายภาพ
ทำให้ได้รับกระแสการตอบรับจากนักท่องเที่ยว
ที่ต่างมุ่งหน้ามาสัมผัสจากภาพทะเลแหวกนี้ วัดระยะทาง จากหัวเกาะ จนถึง
ปลายสันดอนทราย วัดได้ประมาณ 2 กม.
ที่อยู่ : 41/8 ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา 82160
เครดิต : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/21746
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
เป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามันห่างจากฝั่งไปทางทิศตะวันตกประมาณ
70 กิโลเมตร เป็นหมู่เกาะที่อยู่ติดกับเขตชายแดนไทย-พม่า มีพื้นที่ประมาณ
84,375 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่บนบกประมาณ 20,594 ไร่ ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 5
เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) และเกาะรี (เกาะสต๊อก)
สำหรับคนชอบสนอร์เกิล หรือการดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นแล้ว ทุกคนรู้เลยว่าสักครั้งในชีวิตจะต้องฝ่าคลื่นลมกลางทะเล เพื่อมาสัมผัสโลกใต้ผืนน้ำสีครามที่งดงามของหมู่เกาะสุรินทร์
และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังน้ำตื้น
ที่มีมากมายทั้งในเกาะสุรินทร์เหนือและเกาะสุรินทร์ใต้
ที่นี่จึงเป็นแหล่งดำน้ำระดับแถวหน้าของเมืองไทย
จะเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอดทะเลไทยก็คงไม่ผิดนัก มองภาพกว้าง
หมู่เกาะสุรินทร์มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู
เนื่องจากเกาะวางตัวเป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่
ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่บริเวณโดยรอบทั้งเกาะสุรินทร์เหนือ
เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลมแล้ว
สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของบริเวณหมู่เกาะเหล่านี้เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง
คือ น้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ มีแสงแดดส่องถึงในปริมาณที่พอดี
และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ
ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลาและสัตว์อื่น ๆ
ทำให้ทะเลรอบ ๆ
หมู่เกาะสุรินทร์นั้นหนาแน่นด้วยแนวปะการังน้ำตื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก
จนได้รับยกย่องว่าเป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ
ลักษณะของน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal
คือน้ำขึ้นและน้ำลงอย่างละ 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง
และความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดอาจถึง 3 เมตร
ทำให้มีกระแสน้ำเลียบฝั่งค่อนข้างแรง
สำหรับเกาะสุรินทร์เหนือและเกาะสุรินทร์ใต้นั้น ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด
โดยมีพื้นน้ำตื้น ๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่
โดยเฉพาะในช่วงน้ำลงนั้น สามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้เลยทีเดียว
จุดนี้เองเป็นจุดที่เรียกกันว่า อ่าวช่องขาด
ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก
พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น ฤดูกาลเหมาะสม
หมู่เกาะสุรินทร์สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ปริมาณฝนเฉลี่ยในแต่ละปีจะมีค่ามากกว่า 3,000 มิลลิเมตร
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์
ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง
ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว
จึงได้มีการกำหนดปิด-เปิดฤดูท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้
ปิดฤดูท่องเที่ยว
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม-31 ตุลาคม ของทุกปี
เปิดฤดูท่องเที่ยว
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน-30 เมษายนของทุกปี
อุทยานฯ
มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ ราคา 800-3,000
บาท
***ปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติ วันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 14
ตุลาคม
ที่อยู่ : คุระบุรี, พังงา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
หนึ่งในสุดยอดทะเลไทยที่มีความสวยงามติดอันดับโลกนามว่า "หมู่เกาะสิมิลัน"
แห่งนี้ เปรียบได้กับสรวงสวรรค์ใต้ทะเลที่อุดมไปด้วยความสวยงาม
ทั้งปะการังหลากสีสัน ฝูงปลา และที่จัดว่าหาชมได้ยากอย่างโลมา
ในขณะที่บนฝั่งนั้นก็รายล้อมไปด้วยหาดทรายเนียนละเอียดนุ่มเท้า
จนชาวโลกยกย่องให้หมู่เกาะแห่งนี้มีความงดงามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก
และทุกคนที่เดินทางมาเยือนหมู่เกาะสิมิลัน (Similan Islands )
ต้องหาโอกาสขึ้นเกาะ 8
เพื่อถ่ายภาพที่ระลึกคู่กับหินเรือใบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
ราวกับแลนด์มาร์กสำคัญที่ทำให้ทุกคนรู้ว่าคุณได้เดินทางมาเยือนหมู่เกาะสิมิลันแล้ว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน (Mu Koh Similan National Park)
ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา คำว่า สิมิลัน เป็นภาษามลายูแปลว่า เก้า
หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ
เรียงจากเหนือมาใต้ คือ
1. เกาะหูยง มีหาดทรายที่ยาวที่สุดใน 9 เกาะ
ซึ่งเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลด้วย
2. เกาะปายัง
3. เกาะปาหยัน *
พื้นที่บริเวณโดยรอบของเกาะหนึ่ง สอง และสาม หรือเกาะหูยง เกาะปายัง
และเกาะปาหยัน ได้ถูกสงวนให้เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่าทะเล
ห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นเกาะโดยเด็ดขาด
4. -5. เกาะเมี่ยง มีสองเกาะติดกัน
เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มีปูไก่ สัตว์ที่หาชมได้ยาก
และนกชาปีไหน มีหาดทรายที่สวยงาม 2 หาด
6. เกาะปายู
7. เกาะหัวกะโหลก
เป็นเกาะที่มีลักษณะคล้ายหัวกะโหลก มีปะกะรัง ปลากระเบนราหู หุบเขาใต้น้ำ
8. เกาะสิมิลัน มีขนาดใหญ่สุด เป็นแหล่งดำน้ำตื้นและดำน้ำลึก
ชมปะการังและสัตว์ทะเลนานาชนิด จุดชมวิวหินเรือใบ
9. เกาะบางู จุดดำน้ำ
ชมกองหินใต้น้ำ กองหินคริสต์มาสพอยต์
ต่อมาได้มีการรวมเอาเกาะตาชัยมาอยู่ในหมู่เกาะสิมิลันด้วย
ซึ่งเกาะตาชัยนั้น เป็นเกาะที่มีความสวยงาม หาดทรายขาวสะอาดน่าเล่นน้ำ
และมีปูไก่ให้ชมด้วย
ฤดูท่องเที่ยว กำหนดเปิด-ปิดฤดูท่องเที่ยวประจำปี
ดังนี้
-เปิดฤดูท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน-15 พฤษภาคม ของทุกปี
-ปิดฤดูท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม-31 ตุลาคม ของทุกปี
ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน
อุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ ราคา 1,000-2,000 บาท
ที่อยู่ : คุระบุรี, พังงา
เครดิต : https://1th.me/uDP6w
แสดงความคิดเห็น