อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร)
เดิมนั้นท้าวโสมพะมิตรรับราชการในราชสำนักนครเวียงจันทน์ ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของสยามให้เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนแรกในฐานะเมืองประเทศราช อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทรหล่อด้วยสัมฤทธิ์เท่าตัวจริงยืนบนแท่น มือขวาถือกาน้ำ มือซ้ายถือดาบอาญาสิทธิ์ ชาวกาฬสินธุ์ได้ร่วมกันก่อสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น เพื่อแสดงกตเวทิตาต่อผู้ก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์ ถนนกาฬสินธุ์ หน้าที่ทำการไปรษณีย์กาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ที่อยู่ : หน้าที่ทำการไปรษณีย์กาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/WhWYs
วัดโพธิ์ชัยเสมาราม (วัดบ้านก้อม)
วัดโพธิ์ชัยเสมาราม
หรือวัดบ้านก้อม เป็นวัดโบราณ เชื่อกันว่าเป็นวัดประจำเมืองฟ้าแดดสงยาง
(เมืองโบราณ สมัยขอม ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐปูนดิน) มีการค้นพบใบเสมาในเมืองฟ้าแดด
มีใบเสมาหินขนาดใหญ่ที่อาจถือเป็นเอกลักษณ์ของอีสาน
เนื่องจากแทบจะไม่พบในภาคอื่นเลย
ชาวบ้านได้นำใบเสมาหินที่ขุดพบมารวบรวมไว้ที่วัดจำนวนมาก
บางส่วนอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิมที่พบ
และบางส่วนก็นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
ใบเสมาที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยางมีความโดดเด่นคือ
นิยมแกะสลักภาพเล่าเรื่องราวพุทธประวัติและชาดก
ใบเสมาจำลองหลักที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุด
สลักภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยพระเจ้าสุทโธทนะ
พระราหุล และนางยโสธราพิมพา
เข้าเฝ้าแสดงสักการะอย่างสูงสุดด้วยการสยายพระเกศาเช็ดพระบาทองค์พระพุทธเจ้า
เรียกเสมาหินภาพ "พิมพาพิลาป"
ซึ่งใบเสมาหลักนี้ของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ ใบเสมาหินสมัยทวารวดีที่ปักอยู่เป็นแนวกำแพง
และที่เก็บรวบรวมไว้ในวัดเป็นบางส่วน จำหลักเป็นภาพต่าง ๆ
เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่ตั้ง : บ้านเสมา
ตรงข้ามกับทางเข้าเมืองฟ้าแดดสงยาง ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอกมลาไสยไปทางตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร
ที่อยู่ : กมลาไสย, กาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/d3Z4L
เมืองฟ้าแดดสงยาง
เมืองฟ้าแดดสงยางหรือที่เรียกเพี้ยนเป็น ฟ้าแดดสูงยาง
บางแห่งเรียกเมืองเสมาเนื่องจากแผนผังของเมืองมีรูปร่างคล้ายใบเสมา
เป็นเมืองโบราณที่มีคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ความยาวของคันดินโดยรอบประมาณ 5
กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางคันดินทั้งสอง
จากหลักฐานโบราณคดีที่ค้นพบทำให้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยภายในเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
และได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 13-15
ดังหลักฐานทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งภายในและนอกเมือง เช่น
ใบเสมาหินทราย จำหลักภาพชาดกและพุทธประวัติจำนวนมาก
บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมารามซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง
บางแห่งอยู่ในตำแหน่งเดิมที่พบ
และบางส่วนก็นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
นอกจากนั้นยังมีศาสนสถานกระจายอยู่ทั่วไปภายในเมืองและนอกเมือง เช่น
พระธาตุยาคู กลุ่มเจดีย์บริเวณศาสนสถานที่โนนวัดสูง โนนฟ้าหยาด
และโนนฟ้าแดด
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่
27 กันยายน พ.ศ. 2479 พระธาตุยาคู หรือพระธาตุใหญ่
เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง
ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกัน
คือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ
มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี
ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา
ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ
องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ
ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ
สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงครามได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดสงยาง
แต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ชาวบ้านจัดให้มีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุยาคูเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม
เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน
ที่อยู่ : ฆ้องชัย, กาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/3yUQJวัดพุทธนิมิต (ภูค่าว)
วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ)
ที่อยู่ : ถนนอนรรฆนาค ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
จังหวัดกาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/wUnwA
ภูน้ำจั้น
วนอุทยานภูน้ำจั้น มีการค้นพบ ฟอสซิลปลาโบราณกว่า 100 ซาก
และถือว่าเป็นการค้นพบฟอสซิลปลาโบราณครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย
โดยปลาที่พบเป็น ปลาเลปิโตเทสิ ปลาน้ำจืดมีความยาวประมาณ 30-60 ซม.
ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้วและสูญพันธุ์ไปพร้อมไดโนเสาร์
โดยซากฟอสซิลปลาโบราณ ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์
ก๊าซออกซิเจนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบคทีเรียเติบโตไม่สามารถเข้าถึงซากปลาได้
ซากปลาจึงไม่เน่าและถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหินกลายเป็นฟอสซิลเหลือมาจนถึงปัจจุบันนี้
ภูน้ำจั้น อยู่ในพื้นที่บ้านดงเหนือ ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายน์
จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งยังเป็นบึง ในบริเวณที่เป็นภูน้ำจั้นในปัจจุบันนี้
เมื่อ 150 ล้านปีก่อนเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มากน้ำลึกกว่า 3 เมตร
มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากบึงที่เคยอุดมสมบูรณ์
กลับเกิดความแห้งแล้งขึ้นฉับพลัน น้ำแห้งลงอย่างรวดเร็ว
สัตว์ที่เดินหรือคลานได้พากันอพยพไปที่อื่นส่วนปลาต่าง ๆ
ก็พยายามดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด
โดยมุดลงไปฝังตัวอยู่ใต้โคลนก้นบึงแต่ก็ต้องตายลงทั้งหมดเพราะท้ายที่สุดแล้วน้ำได้เหือดแห้งไปสิ้น
หลายพันปีต่อมาพื้นที่นี้ทรุดตัวลงไปเรื่อย ๆ
กลายเป็นท้องแม่น้ำเกิดกระบวนการสะสมตะกอนต่อเนื่องตามมาด้วยการยกตัวของเทือกเขาภูพานบริเวณ
อ.เขาวง บีบดันจนชั้นหินมีลักษณะเป็นโครงสร้างรูปประทุน
ซึ่งมีปลายเรียงทั้งสองข้างมุดลงใต้ดินคล้าย ๆ กับเรือแจวที่มีหลังคาประทุน
เรียกกันว่า โครงสร้างรูปกุฉินารายณ์
ต่อมาบริเวณตอนกลางที่เสมือนหลังคาประทุนที่โป่งขึ้นมาถูกกัดเซาะจนกลายเป็นหุบเขา
ทำให้เห็นวงของภูเขารอบด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีชั้นหินที่ออกจากศูนย์กลาง
ภูน้ำจั้น เป็นแหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ชนิด ปลากินพืช เลปิโดเทส
พุทธบุตรเอนซิส
ตั้งชื่อตามวัดป่าพุทธบุตรที่เป็นที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพบเป็นจำนวนมากถึง
250 ตัวอย่าง
ลักษณะทั่วไปของปลามีเกล็ดเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่แข็งหนาและมันวาวปกคลุมลำตัว
มีความยาว 40-50 ซ.ม.
ลักษณะที่ใช้จำแนกชนิดคือกระดูกแก้มที่มากกว่าเลปิโดเทสชนิดอื่น
รวมทั้งฟันซี่เล็กแหลมที่พบติดกับขากรรไกร
เป็นหลักฐานถึงการใช้ฟันครูดพืชเป็นอาหาร
นอกจากนั้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาอิสานอิกทิส พาลัสทริส เป็นปลาสกุลใหม่
ชนิดใหม่ ที่ชื่อสกุลมีความหมายว่าปลากระดูกแข็งจากอิสาน
เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ลำตัวยาวเรียว ความยาว 96 ซ.ม.
พบเพียงตัวเดียวในแหล่งภูน้ำจั้น และยังพบ ปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตคัส
มาร์ตินิ
พบความสมบูรณ์ของแผ่นฟันจากขากรรไกรล่างกับขากรรไกรบนเชื่อมติดกับแผ่นกระโหลกพบเพียงตัวเดียว
โดยแผ่นฟันที่พบแสดงการใช้งานจนสึกกร่อน พื้นที่ประกอบด้วยหินทรายสีน้ำตาล
สีม่วงแดง เม็ดละเอียดถึงปานกลาง การคัดขนาดไม่ดี
สลับหินทรายแป้งและหินโคลน สีน้ำตาลแกมแดงเนื้อไมก้า
มีชั้นเม็ดปูนและชั้นซิลิกา อยู่ในหมวดหินภูกระดึง
การเดินทาง
วนอุทยานภูน้ำจั้น อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูโหล่ย
การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 2042 ไปทางอำเภอกุฉินารายณ์
เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2291 ประมาณ 7 กิโลเมตร
ที่อยู่ : บ้านดงเหนือ กุฉินารายณ์, กาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/uFxDv
วนอุทยานภูแฝก (แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง
ไม้รัง ไม้ประดู่ ฯลฯ มีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่น กระรอก กระแต อีเห็น
กระต่ายป่า เป็นต้น ภูแฝก
ภูเขาขนาดใหญ่ที่อยู่ในวนอุทยานภูแฝก วนอุทยานที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงห้วยฝา ใกล้ ๆ
กับบ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
วนอุทยานภูแฝก หรือแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก
เป็นแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
โดยรอยเท้าไดโนเสาร์นั้นถูกค้นพบบนพลาญหินที่เป็นทางน้ำของห้วยน้ำยัง
รอยเท้าฝังอยู่ในผิวหน้าของชั้นหินทรายที่แกร่งของหมวดหินพระวิหาร
ซึ่งตามลำดับชั้นหินจะวางตัวอยู่ใต้ชั้นหินของหมวดหินเสาขัว
ซึ่งเป็นชั้นหินที่พบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุดของประเทศไทย
จากการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทำให้ทราบว่าชั้นหินทรายในบริเวณนี้
ในอดีตมีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่าน
หรือเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณหาดทรายชุ่มน้ำนี้
รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน โดยอาจโผล่พ้นน้ำ
ทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่
หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่
รอยเท้านั้นจึงยังคงอยู่ในชั้นตะกอนเดิม
ต่อมาชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน
รอยเท้านั้นจึงปรากฏอยู่ในชั้นหินนั้น
ปัจจุบันธรรมชาติได้ทำลายชั้นหินส่วนที่ปิดทับรอยเท้าออกไป
เผยให้เห็นรอยเท้าที่ไดโนเสาร์ได้ทิ้งเอาไว้เป็นประจักษ์พยานถึงการมีตัวตนในอดีต
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539
เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปกินข้าวในวันหยุด
ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก
บริเวณเทือกเขาภูพาน
หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการและเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์เดินทางไปสำรวจ
จึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย
จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี
ปัจจุบันนั้นเห็นชัดเจนเพียง 4 รอย ที่ตั้ง : หมู่ที่ 6 บ้านน้ำคำ
ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ที่อยู่ : หมู่ 6 ห้วยผึ้ง, กาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/6Y1MP
น้ำตกแก้งกะอาม
น้ำตกแก้งกะอาม
เป็นน้ำตกเล็ก ๆ อยู่ในลำห้วยหลัว
ต้นน้ำอยู่ที่ภูตูมบนเทือกเขาภูพาน ลักษณะของน้ำตกเป็นโขดหินเตี้ย ๆ
ลดหลั่นลงมา สายน้ำตกจึงมีขนาดไม่ใหญ่
สลับกับบริเวณที่เป็นแอ่งน้ำและพลาญหิน
จุดเด่นของน้ำตกแห่งนี้อยู่ที่แก่งหินที่วางเรียงรายเป็นแนวยาวดูแปลกตา
ราวกับมนุษย์เป็นผู้ทำขึ้น แม้ว่าน้ำตกแก้งกะอาม จะเป็นน้ำตกขนาดเล็ก
แต่มีลานหินกว้าง เมื่อประกอบกับบรรยากาศโดยรอบที่ร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่แล้ว
จึงเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง
โดยกิจกรรมที่น่าสนใจคงหนีไม่พ้นการลงเล่นน้ำ
และการปิกนิกท่ามกลางธรรมชาติที่คลอด้วยเสียงน้ำไหล
นอกจากนั้นที่ด้านบนของลำห้วยยังมีการสร้างฝายกั้นธารน้ำ
ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินข้ามไปชมความงามของพันธุ์ไม้ในป่าได้ด้วย
เช่นเดียวกับน้ำตกหลาย ๆ แห่ง
น้ำตกแก้งกะอามจะมีน้ำมากน่าเที่ยวในช่วงฤดูฝน ไม่แนะนำให้มาในฤดูแล้ง
เพราะนอกจากน้ำจะน้อยหรือไม่มีน้ำแล้ว สภาพป่ายังดูรกร้าง
ไม่เขียวครึ้มน่าชมเหมือนในฤดูฝน
วันและเวลาทำการ: ทุกวัน ตั้งแต่เวลา
08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม: ฟรี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4324 4498-9
ที่อยู่ : บ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/C5tUC
วนอุทยานภูพระ
วนอุทยานภูพระ
เดิมเป็นป่าภูพระอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงมูลมีเนื้อที่ประมาณ 64,900 ไร่
กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2526
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ชุมชน
ป่าภูพระมีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่น มีสัตว์ป่า ลำธาร และทิวทัศน์ที่สวยงาม
พื้นที่หลังเขาเป็นที่ราบประดิษฐานพระพุทธรูปหินเก่าแก่
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตวนอุทยานฯ เป็นลานหินผากว้าง ความลึกของหน้าผา
150-200 เมตร เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ถ้ำเสียมสับ
เป็นถ้ำของหินผาที่มีลักษณะคล้ายเสียมที่ขุดลงหิน
ซึ่งเมื่ออยู่หน้าปากถ้ำจะเห็นหินผาที่สูง
เป็นถ้ำที่เกิดจากการแยกตัวของหินผา ภายในถ้ำมีทางเดินกว้าง 2 เมตร ระยะทาง
30 เมตร ในสมัยก่อนจะมีพระสงฆ์มาจำพรรษาและปฏิบัติธรรมเป็นประจำ ผาหินแยก
เป็นหน้าผาที่แยกตัวเป็นทางยาว 20 เมตร ลึก 6 เมตร
ซึ่งผาที่แยกตัวออกมาจะมีลักษณะเอนเอียงเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้
ถ้ำพระ เป็นถ้ำที่มีความลึก 30 เมตร ปากถ้ำกว้าง 15 เมตร
มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่
และชาวบ้านในท้องถิ่นต่างให้ความเคารพสักการะเป็นอย่างยิ่ง
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีงานเดินขึ้นภูพระเพื่อสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี
ที่อยู่ : ท่าคันโท, กาฬสินธุ์
เครดิต : https://1th.me/bkczm
แสดงความคิดเห็น