วัดศรีโคมคำ
วัดศรีโคมคำ หรือวัดที่ประชาชนทั่วไปเรียกขานกันว่า "วัดพระเจ้าตนหลวง" ตั้งอยู่เลขที่ 692 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034-2067 ทั้งนี้ พระเจ้าตนหลวง หรือพระเจ้าองค์หลวงนั้น มิใช่เป็นเพียงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านนาไทยด้วย และในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็ง สำหรับใครที่ยังชมศิลปะกันไม่จุใจ ภายในพระอุโบสถที่ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยายังมีงานจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นด้วยฝีมือท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติผู้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ได้วิจิตรสวยงามยิ่ง สอบถามข้อมูล โทร. 0 5441 1062, 0 5441 0058-9
ที่อยู่ : 692 หมู่ 1 ถนนพหลโยธิน เมืองพะเยา, พะเยา
เครดิต : http://1ab.in/MyM
วัดศรีอุโมงค์คำ
หากเดินทางมาเยือนวัดนี้แล้ว ต้องหาโอกาสชมพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก ยากจะหาที่ใดเทียบได้ และวัดนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา นามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์" ที่ชาวบ้านพากันเรียกว่า "พระเจ้าล้านตื้อ" ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดแห่งล้านนาไทย
ที่อยู่ : เมืองพะเยา, พะเยา
เครดิต : http://1ab.in/MyRวัดพระธาตุดอยหยวก
วัดแสนเมืองมา
เป็นวัดที่มีความเป็นมาเก่าแก่ซึ่งมีหลักฐานระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ประมาณปี พ.ศ. 2351 โดยสมัยนั้นเจ้าผู้ครองเมืองน่านได้กวาดต้อนชาวไทยใหญ่จากเมืองมาง สหภาพพม่า มาอยู่หมู่บ้านแห่งใหม่ และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านมาง" จากนั้นได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดขึ้น ตั้งชื่อว่า "วัดมาง" ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดแสนเมืองมา" ในที่สุด จุดเด่นของวัดนี้ อยู่ที่หลังคาวิหาร ซึ่งมีลักษณะลดหลั่นกันลงมาหลายชั้น ตัวหลังคาประดับด้วยช่อฟ้ารูปหงส์ หรือตัวนาคคาบแก้ว ประดับด้วยไม้แกะสลักภาพนูน แล้วตกแต่งด้วยสีสันให้ดูงามตา บานประตูทุกบานทำด้วยไม้แกะสลัก และประตูเข้าสู่พระวิหารทำเป็นสามมุข ทั้งนี้ มุขแต่ละทิศทำเป็นสัตว์สามชนิด ซึ่งเชื่อว่าสัตว์เหล่านี้จะช่วยปกป้องคุ้มครองพระศาสนา อันได้แก่ พญานาค เสือ และสิงห์ โดยรูปปั้นพญานาคมีเขากวางประดับด้วย ซึ่งแตกต่างจากวัดแบบไทลื้ออื่น ๆ นอกจากนี้ภายในวิหารยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวไทลื้อ และองค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน หลังจากชมภายในวิหารกันจนอิ่มเอมแล้ว เดินออกมาสู่ภายในบริเวณวัดจะพบกับหอพิพิธภัณฑสถานซึ่งเก็บรวบรวมของเก่าที่น่าศึกษาเรียนรู้ไว้มากมาย
ที่อยู่ : 133 หมู่ 4 บ้านมาง เชียงคำ, พะเยา
เครดิต : http://1ab.in/My1วัดอนาลโยทิพยาราม
ที่อยู่ : หมู่ 6 บ้านสันป่าบง เมืองพะเยา, พะเยา
เครดิต : http://1ab.in/My7
แสดงความคิดเห็น