สถานีรถไฟกันตัง
สถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายใต้ฝั่งอันดามันที่ยังคงความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 โดดเด่นด้วยเรือนไม้แบบปั้นหยาสีเหลืองมัสตาดตัดกับสีน้ำตาล ซึ่งสมัยก่อนเคยเป็นท่ารับส่งสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2539 และกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวทุกคน ที่จะต้องแวะไปถ่ายภาพที่ระลึกกับอาคารไม้หลังนี้ เพื่อเก็บเป็นภาพแห่งความประทับใจ ณ มุมหนึ่งของเมืองตรังที่อยู่ : กันตัง, ตรัง
เครดิต : https://1th.me/ePYJK
พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
ย้อนอดีตไปสู่ความรุ่งเรืองในวันวานกับสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของ "จวนเก่าเจ้าเมืองตรัง" หรือบ้านพัก อดีตเจ้าเมืองตรังพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
ซึ่งปลูกสร้างขึ้นเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น และยังคงอวดโฉม
อันคลาสสิกมาจนทุกวันนี้
โดยภายในนั้นมีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของบุคคลสำคัญท่านนี้ให้ได้ชม
พร้อมกับเก็บรักษาเครื่องมือ
เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของท่านไว้อย่างครบถ้วน โดยทายาทตระกูล ณ ระนอง
เป็นผู้ดูแลรักษานั่นเอง
ที่อยู่ : 1 ถนนหน้าค่ายพิทักษ์ กันตัง, ตรัง
เครดิต : https://1th.me/Y9unS
พระนอนทรงเครื่องโนราวัดภูเขาทอง
ที่อยู่ : เมืองตรัง, ตรัง
เครดิต : https://1th.me/V0Swn
วนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตัง
จากบริเวณที่อุดมไปด้วยบ่อน้ำร้อนธรรมชาติใต้ผิวดินมาสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในปัจจุบัน อันเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวตรังและนักท่องเที่ยวทั่วไปเป็นอย่างดี โดยได้รับการจัดตั้งให้เป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549
วนอุทยานฯ แห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหวาง ป่าควนแคง และป่าน้ำราบ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาผสมผสานกับสภาพป่าเป็นดงดิบชื้น และบางส่วนเป็นป่าพรุที่มีน้ำท่วมขังตลอดปี อีกทั้งมีพื้นที่บางส่วนเป็นพรุน้ำร้อนมีน้ำไหลผุดจากใต้ดินตลอดเวลา พืชพรรณและสัตว์ป่า จัดว่าค่อนข้างมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ปานกลาง โดยพันธุ์ไม้ที่พบได้ แก่ ยาง ตะเคียน หว้า ชมพู่ป่า ทุ้งฟ้า ก่อ แดงควน กระโดน ตังหน หวาย หลุมพี ปาล์ม กล้วยไม้ และสัตว์ป่าที่พบได้แก่ ชะมด ค้างแว่นถิ่นใต้ กระจง ไก่ป่า นกชนิดต่าง ๆ เต่า กบ เขียด งู สถานที่น่าสนใจ ได้แก่ บ่อน้ำร้อนควนแคง บริเวณพื้นที่พรุน้ำร้อน โดยได้พัฒนาปรับปรุงเป็นบ่อน้ำร้อน จำนวน 3 บ่อ มีอุณหภูมิของน้ำประมาณ 70 องศา / 40 องศา / 20 องศา ตามลำดับ ซึ่งนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปนิยมมาแช่เท้าและอาบน้ำร้อนเพื่อสุขภาพ ณ ที่แห่งนี้ โดยมีห้องอาบน้ำแล ห้องแช่น้ำร้อนให้บริการเพื่อความเป็นส่วนตัว จำนวน 9 ห้อง บ่อแช่เท้ารวม 1 บ่อ และบ่ออาบน้ำรวมอีก 1 บ่อ เส้นทางศึกษาธรรมชาติบริเวณพื้นที่พรุน้ำร้อนและพื้นที่ป่าดงดิบ ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติจำนวน 3 เส้นทาง ในระยะทาง 500 เมตร 750 เมตร และ 2,000 เมตร ตามลำดับ เพื่อยังประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งส่งเสริมสันทนาการและการท่องเที่ยว
ที่อยู่ : 115/5 หมู่ 2 กันตัง, ตรัง
เครดิต : https://1th.me/pcfZP
แสดงความคิดเห็น