สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
สะพานเฉลิมพระเกียรติ
80 พรรษาฯ นี้ยาวประมาณ 5.5 กิโลเมตร
เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทยที่ข้ามทะเลสาบเชื่อมการเดินทางระหว่าง
อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และ อ.ระโนด จ.สงขลา
ที่อยู่ : ควนขนุน, พัทลุง
เครดิต : https://1th.me/O5gQ5
อนุสาวรีย์พระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย)
อนุสาวรีย์ที่เป็นประติมากรรมลอยตัวทองเหลืองรมดำที่ตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่บนทางเท้าฝั่งตรงข้ามสวนสาธารณะสวนกาญจนาภิเษกแห่งนี้ สะท้อนเสี้ยวหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของชาวพัทลุงได้เป็นอย่างดี เมื่อพระยาทุกขราษฎร์ (ช่วย) ในสมัยที่ท่านยังบวชเป็นพระได้ช่วยพระยาพัทลุง นำชาวบ้านเข้าตีกองทัพพม่าจนแตกพ่ายในช่วงสงครามเก้าทัพ และเมื่อลาสิกขาบทแล้ว รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ และจากวีรกรรมอันกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และเสียสละของปูชนียบุคคลผู้นี้ที่มีส่วนช่วยให้เมืองพัทลุงอยู่รอดปลอดภัย ทางจังหวัดพัทลุงร่วมกับเทศบาลเมืองพัทลุงจึงขึ้นได้จัดสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีถนนช่วยทุกขราษฎร์ที่ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน อยู่ระหว่างถนนคูหาสวรรค์กับถนนไชยบุรีอีกด้วยที่อยู่ :
ตั้งอยู่ที่สามแยกท่ามิหรำ ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
เครดิต : https://1th.me/Ieuc9
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศหรือพระสี่มุมเมือง
น้อมสักการะพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือที่รู้จักกันดีว่า
"พระพุทธรูปสี่มุมเมือง" ซึ่งมีอยู่ 4 องค์ด้วยกัน
และหนึ่งในสี่องค์นั้นประดิษฐานอยู่ ณ จังหวัดพัทลุงนั่นเอง โดยนับเป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้
และเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพัทลุงด้วยเช่นกัน
พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาจตุรมุข
บริเวณด้านหน้าระหว่างศาลากลางจังหวัดกับศาลจังหวัดพัทลุง
มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริด ปางสมาธิ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) โปรดเกล้าฯ
พระราชทานไว้ที่จังหวัดพัทลุง เมื่อปี พ.ศ. 2511 รู้จัก "จตุรพุทธปราการ"
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศนี้ได้รับการจัดสร้างขึ้นตามความเชื่อและโบราณประเพณีของบ้านเมือง
ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ซึ่งต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกปักษ์รักษาขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศ
โดยเป็นการสร้างตามแบบ "จตุรพุทธปราการ" กล่าวคือ
เป็นการนำเอาวัดหรือพระพุทธรูปมาเป็นปราการทั้งสี่ด้าน
เพื่อปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู คอยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
เสริมสร้างดวงชะตาแก่บ้านเมือง
และคุ้มครองประชาชนให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
ปัจจุบันได้มีการอัญเชิญพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ทั้ง 4 องค์
ไปประดิษฐาน ณ จังหวัดต่าง ๆ ตามทิศทั้งสี่ของประเทศไทย ได้แก่-
ทิศเหนือ-ศาลหลักเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง- ทิศใต้-จังหวัดพัทลุง-
ทิศตะวันออก-วัดศาลาแดง จังหวัดสระบุรี- ทิศตะวันตก-เขาแก่นจันทน์
จังหวัดราชบุรี
ที่ตั้ง : อ.เมือง จ.พัทลุง
เครดิต : https://1th.me/PIfMf
วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า-วังใหม่)
วังเจ้าเมืองพัทลุง ตั้งอยู่ที่ถนนอภัยอภิรักษ์ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร ในอดีตวังแห่งนี้เคยใช้เป็นสถานที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง
มีความสวยงามโดดเด่น
ปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด
วังเจ้าเมืองพัทลุง เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "วังเก่า-วังใหม่"
เนื่องจากประกอบด้วย "วังเก่า" และ "วังใหม่" ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน
สำหรับ "วังเก่า" นั้นสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยที่พระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจวงศ์) เป็นเจ้าเมือง ส่วน "วังใหม่"
ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ติดชายคลองลำปำ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432
โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจวงศ์)
บุตรชายของพระยาพัทลุง ผู้เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ปัจจุบันทายาทตระกูล
"จันทโรจวงศ์" ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ
และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16
กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ในขณะที่วังใหม่ ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ
ไปแล้วก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
จากอดีตที่เคยเป็นสถานที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุงที่มีความสวยงามโดดเด่นยิ่งนัก
ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด
ซึ่งวังเจ้าเมืองพัทลุงแห่งนี้ เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า
"วังเก่า-วังใหม่"
โดยประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวญเดียวกัน ดังนี้-
วังเก่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสมัยที่พระยาพัทลุง (น้อย
จันทโรจวงศ์) เป็นเจ้าเมือง ซึ่งทายาทตระกูล "จันทโรจวงศ์"
ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ
และกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16
กรกฎาคม พ.ศ. 2535- วังใหม่ เป็นวังที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ติดกับชายคลองลำปำ
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี
(เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายของพระยาพัทลุง ผู้เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น
โดยได้รับการขึ้นทะเบียนฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 น่าชม
ชมสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่มีความสวยงามอลังการสมฐานะผู้พักอาศัย โดย วังเก่า
เป็นเรือนไทยที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างภาคกลางกับภาคใต้
มีเรือนใหญ่ทรงไทยแฝดอยู่ตรงกลาง ส่วน วังใหม่ ที่สร้างขึ้นในภายหลังนั้น
เป็นกลุ่มเรือนไทย 5 หลัง แบ่งเป็นเรือนนอนและเรือนครัว
สามารถเดินชมด้านในได้ นอกจากนี้ บริเวณวังเจ้าเมืองฯ
ยังมีศาลาไทยริมน้ำและเรือพัทลุงซึ่งเป็นเรือเก่าแก่สมัยรัชกาลที่ 5
ให้ได้ชมกันด้วย
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ถนนอภัยอภิรักษ์ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง
จังหวัดพัทลุง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร
เครดิต : https://1th.me/2HvSX
แสดงความคิดเห็น