วัดบุปผาราม (วัดปลายคลอง)
"วัดปลายคลอง" สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2191) มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บโบราณวัตถุมากมายที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และวัดนี้ได้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจของชาวตราดเสมอมา
พิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม
แหล่งรวบรวมโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า โดยเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุ
อันเป็นมงคลสูงสุดคู่บ้านคู่เมือง นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองบุเงิน
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป กลองมโหระทึก
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ภายในพระอุโบสถและวิหารพระพุทธไสยาสน์
ซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์โดยฝีมือช่างท้องถิ่น
มีการผสมผสานศิลปะจีนและวรรณคดีจีน
แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชาวจีนที่มาค้าขายแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกในสมัยนั้น
หมู่กุฏิเล็กทรงไทย
ที่สร้างได้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติที่มีขนาดพอแค่ภิกษุอยู่ได้รูปเดียวเท่านั้น
ในสมัยก่อนคนท้องถิ่นเมื่อให้ลูกหลานบวชเรียนที่วัด ก็จะสร้างกุฏิให้พร้อม
เสร็จแล้วช่วยกันหาม ช่วยกันแห่มาที่วัดในวันทำพิธีบวช
หอสวดมนต์
งดงามด้วยการเป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้อง เคลือบชั้นเดียว
ชายคาปีกนก หน้าบันไม้จำหลักปิดทองลายเทพนม ฝาประกน เสาไม้แปดเหลี่ยม
องค์เจดีย์ มีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
วิหาร ฝากระดานก่ออิฐถือปูน
รูปลักษณ์คล้ายเรือสำเภา
เช่นเดียวกับฐานโบสถ์วิหารที่สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
เปิดให้เข้าชม: ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
สอบถามข้อมูล:
โทรศัพท์ 0 3951 2636
ที่ตั้ง:
หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดตราด
เครดิต : https://1th.me/gnAyH
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
เอกลักษณ์ของศาลหลักเมืองตราดที่แตกต่างจากศาลหลักเมืองอื่น ๆ กล่าวคือศาลหลักเมืองแห่งนี้สร้างขึ้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมเก๋งจีน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีน
เพื่อคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง
ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข
และที่นี่ยังเป็นเหมือนศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน โดยในวันขึ้น 6
ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีจะมีการจัดงาน "วันงานพลีเมือง" ที่ชาวจีนเรียกกันว่า
"วันเซี่ยกงแซยิด" ซึ่งหมายถึงวันเกิดของเจ้าพ่อหลักเมืองนั้นเอง
ในอดีตเคยมีเรื่องน่ามหัศจรรย์ของหลักเมืองตราด
ในสมัยที่ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสนั้น
ชาวฝรั่งเศสสังเกตเห็นชาวเมืองตราดพากันเดินทางมากราบไหว้หลักเมืองอยู่เป็นประจำ
จึงคิดให้คนไปถอนเสาหลักเมืองทิ้ง แต่ถอนเท่าไหร่ก็ถอนไม่ขึ้น
ขุดเท่าไหร่ก็ขุดไม่ได้ แม้จะดึงเสาหลักเมืองด้วยแรงช้างสาร
ก็ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก
ต่อมาในภายหลังชาวเมืองตราดจึงได้ทำการบูรณะหลักเมืองนี้ให้คงสภาพดี
และเป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองเสมอมา
เปิดให้เข้าชม: ทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น.
ที่ตั้ง: ตำบลบางพระ อำเภอเมืองฯ
จังหวัดตราด
เครดิต : https://1th.me/dTA0I
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว
ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่นำเสนอวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่ง
เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไปท่าเรือเกาะช้าง บ้านน้ำเชี่ยวมี
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล
มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน
เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ
ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว
และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย
เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า
“แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร
มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้ ซึ่งพี่น้องทั้งสอง
ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา
ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล
มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน
ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา
อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก
น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว”
ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง
ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง
พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย
สอบถามข้อมูล 0 3959 7259
ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด
เครดิต : https://1th.me/tbuWv
ที่อยู่ : เมืองตราด, ตราด
เครดิต : https://1th.me/0LzbI
แสดงความคิดเห็น