วัดมณีบรรพตวรวิหาร
เป็นวัดที่ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงของจังหวัดพร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมณีบรรพตวรวิหารจากเดิมที่ชื่อวัดเขาแก้ว
ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่
-
พระพุทธรูปปางลีลาประดิษฐานอยู่ด้านหน้าตรงเชิงบันไดทางขึ้นเขา
ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สักการะเพื่อเสริมสิริมงคล
- พระพุทธรูปแสนทอง
พระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองตากมาตั้งแต่สมัยโบราณที่
ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ โดยพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน
-
เรือนไทยไม้สักอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณซึ่งแกะสลักจากหินอ่อน
และทรงเครื่องตามศิลปะแบบพม่า
- พระธาตุเจดีย์อายุร้อยกว่าปี
ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระเจดีย์เป็นศิลปะแบบมอญ
มีลักษณะเป็นทรงระฆังคว่ำ ฐานเจดีย์เป็นแบบย่อมุมไม้สิบหก แลงดงาม
-
หอพระไตรปิฎกกลางน้ำซึ่งตั้งอยู่บริเวณหลังวัดหอไตรแห่งนี้ทำด้วยไม้
สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก
ลวดลายแกะสลักเลือนรางจนแทบมองไม่เห็น และ ไม่มีการเปิดให้เข้าชมภายใน
-
ชมรมนวดแผนไทยฝีมือคุณภาพซึ่งอยู่ภายในวัด
สำหรับผู้ที่อยากผ่อนคลายความเหนื่อยล้า
ที่อยู่ : ถนนพหลโยธิน เมืองตาก, ตาก
เขื่อนภูมิพล
เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งแห่งเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
และเป็นอันดับ 8
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกทั้งยังเป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย
เดิมทีเขื่อนแห่งนี้มีชื่อว่าเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม
พ.ศ. 2500
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า
เขื่อนภูมิพล
และต่อมาพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ. 2504ทั้งนี้ การสร้างเขื่อนแห่งนี้ขึ้นมานั้น
เพื่อปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน
6 เมตร
โดยอ่างเก็บน้ำของเขื่อนนับว่ามีความจุสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่สำคัญของเมืองไทย
สถานที่น่าสนใจ -
พักผ่อนหย่อนใจชมวิวริมสันเขื่อน -
เดินป่าศึกษาธรรมชาติสองฝั่งลำน้ำปิงเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ตื่น
โดยเป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสภาพป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
ความหลากหลายของเขาหิน ลำห้วย และน้ำตก -
ล่องแพและเรือในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยเป็นการล่องแพที่ใช้เรือลากจูง
หรือเดินทางด้วยเรือสำราญ เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติและภูมิประเทศป่าเขา
ผ่านแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้แก่ พระพุทธบาทเขาหนาม เกาะวาเลนไทน์
ดอยเจ้าพ่อหลวง เขาพระพุทธบาท ถ้ำอาบนาง โบราณสถานแก่งสร้อย จนถึงดอยเต่า
จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง 204 กิโลเมตร
ที่อยู่ : 180/2 หมู่ 6 สามเงา, ตาก
เครดิต : https://1th.me/7tPh8
ประติมากรรมกระทงสาย
ทุกวันขึ้น
15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีที่เราเรียกกันว่าวันเพ็ญเดือนสิบสอง
ทั่วประเทศจะพร้อมใจ กันจัดงานลอยกระทง
และจังหวัดตากเองก็มีการลอยกระทงสายอันเป็นประเพณีที่ชาวเมืองตากภาคภูมิใจ
ในเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง
และการสร้างประติมากรรมกระทงสายนี้ขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของประเพณีนี้
รวมทั้งเพื่อเตือนให้ทุกคนได้รู้ว่า
ประเพณีลอยกระทงสายนี้หาชมได้ที่จังหวัดตากเพียงแห่งเดียว
ของประเทศไทยเท่านั้น
ที่อยู่ : เมืองตาก, ตาก
เครดิต : https://1th.me/Wwz8m
ศาลหลักเมืองสี่มหาราช
ตั้งอยู่เชิงสะพานกิตติขจร
ก่อนเข้าตัวเมืองตาก
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมืองตากเป็นเมืองเก่ามีมาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย
เป็นเมืองที่มีพระมหาราชเจ้าในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากถึง 4
พระองค์
นอกจากเป็นจุดพักรถที่ดีเยี่ยมระหว่างการเดินทางแล้ว ศาลหลักเมืองสี่มหาราชยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะพาเรา
ย้อนกลับไปสู่ความรุ่งเรืองแห่งตำนานมหาราชทั้งสี่ของดินแดนไทย
อันสืบเนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เมืองตากเป็นเมืองที่มีพระมหาราชเข้าในอดีตเสด็จมาชุมนุมกองทัพถึง
4 พระองค์ด้วยกัน กล่าวคือ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชในคราวศึกชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ได้ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแกลง
แล้วยกทัพกลับราชอาณาจักรไทย โดยเสด็จผ่านเมืองตากเป็นแห่งแรก
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้ทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ
และได้สร้างวัดพระนารายณ์ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่เชิงสะพานกิตติขจร
และสุดท้ายคือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ผู้เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก
และเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของอดีตมหาราชทั้งสี่พระองค์
จึงได้มีการจัดสร้างศาลหลักเมืองแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535
และกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดตากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ที่อยู่ : เมืองตาก, ตาก
เครดิต : https://1th.me/gXl70
เจดีย์ยุทธหัตถี
(เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำ)
โบราณสถานที่มีอายุอยู่ในสมัยสุโขทัยราว 700 ปีเศษแห่งนี้
ปรากฏความสำคัญในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ เมืองตาก
ชาวบ้านนิยมเรียกเจดีย์แห่งนี้ว่าเจดีย์ชนช้าง
ซึ่งดอยช้างนั้นเป็นเนินดินเล็ก ๆ ที่อยู่ทางเหนือของดอยพระธาตุไปเล็กน้อย
และองค์เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่เยื้องกับวัดพระบรมธาตุประมาณ 200 เมตร
ลักษณะของเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้เป็นศิลปะแบบสุโขทัยคล้ายกับเจดีย์องค์อื่นในเมืองสุโขทัย
ก่ออิฐถือปูนฐานกว้าง 12 เมตร เป็นเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขึ้นไปสูง
16 เมตร
เหนือเรือนธาตุทำเป็นลำสี่เหลี่ยมย่อมุมตลอดถึงยอดที่เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
และบนยอดสุดมีฉัตร ทั้งนี้องค์เจดีย์ผ่านการซ่อมแซมตลอดมา
แต่ไม่เสียทรงเดิม ฐานพุ่มมีลายปั้นเป็นรูปหน้าสิงห์สวยงาม
หน้าสิงห์บ้านทิศเหนือยังสมบูรณ์บ้านอื่น ชำรุดและมีรอยซ่อมแซมเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงกล่าวถึงเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี ในหนังสืออธิบายระยะทางล่องลำน้ำปิงว่า
"มีพระเจดีย์องค์หนึ่งบนดอยช้างเหนือดอยพระธาตุ เรียกว่า พระปรางค์
แต่ที่จริงเป็นพระเจดีย์แบบสุโขทัย
เหมือนพระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเมืองศรีสัชนาลัย
และพระเจดีย์ที่วัดกระพังเงิน ในเมืองสุโขทัย
พระเจดีย์รูปนี้ที่วัดพระธาตุเมืองกำแพงเพชรก็มีอีกองค์หนึ่ง
เข้าใจว่าเป็นฝีมือช่างครั้งกรุงสุโขทัยสร้างไว้ ขนาดสูงตลอดยอดประมาณ 20
วา มีผู้ซ่อมแต่ซ่อมดีไม่แก้รูปเดิม ลายหน้าราหูยังปรากฏอยู่
พระเจดีย์องค์นี้สร้างบนยอดดอยที่ต่ำกว่าดอยที่สร้างพระธาตุ
ควรเข้าใจว่าสร้างที่หลังพระธาตุ" สำหรับเรื่องศึกชนช้างนั้น
จากหลักฐานศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้ระบุว่า
เมื่อครั้งพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ อันเป็นวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัยนั้น
ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้เข้ามาตีเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตกทัพ
พ่อขุนรามคำแหงผู้ราชบุตรจึงเข้าชนช้างกับขุนสามชนจนมีชัยชนะ
ข้าศึกแตกพ่ายไป น่าสันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้จะสร้างเป็นของเฉลิมพระเกียรติเรื่องชนช้างคราวนั้น
และอาจเป็นที่มาของชื่อ
เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราชแต่พระเจ้ารามคำแหงจะสร้างเองหรือจะสร้างในรัชกาลต่อมานั้น
ไม่มีหลักฐานที่ระบุไว้ชัดเจน
ที่อยู่ : บ้านตาก, ตาก
เครดิต :
https://1th.me/rBcqW
แสดงความคิดเห็น