พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์แห่งนี้
ก่อตั้งขึ้นระลึกถึงวีรกรรมการชนช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยากับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า
ที่ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2135 ในเวลาต่อมา
เจดีย์แห่งนี้ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2456 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรับสั่งให้ค้นหาซากเจดีย์เก่า
เมื่อค้นพบก็เชื่อว่าน่าจะเป็นเจดีย์ยุทธหัตถี
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6
ได้เสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงสมโภช เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2456
ในขณะนั้นองค์เจดีย์เหลือซากแต่เพียงฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 19.50 เมตร
สูงจากพื้นดินถึงส่วนชำรุด 6.50 เมตร รัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ
ให้กรมศิลปากรทำการบูรณะและเลือกแบบเจดีย์ยุทธหัตถีที่จังหวัดตาก
ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกครั้งพ่อขุนรามคำแหงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด
แม้ว่าการบูรณะเจดีย์ในครั้งนั้นจะไม่ได้ดำเนินการตามพระราชประสงค์
หากแต่ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ได้มีการสร้างแบบของเจดีย์ให้เป็นทรงลังกาตามแบบเจดีย์ใหญ่ที่วัดชัยมงคล
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะสันนิษฐานว่า เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลนี้
สมเด็จพระนเรศวรฯ
ได้โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะครั้งนั้นตามคำกราบทูลแนะนำของสมเด็จพระวันรัต
วัดป่าแก้ว เช่นเดียวกับเจดีย์ยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. 2495
กองทัพบกได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่
โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร
ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ ภายในได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์
ทั้งภาพแสงสีเสียง และหุ่นจำลองการยกทัพของพม่าและไทยหลายร้อยตัว
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ
ไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม
พ.ศ. 2502
ต่อมาทางราชบัณฑิตได้คำนวณพบว่าวันทางจันทรคติที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี
คือวันจันทร์เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 ตรงกับวันที่ 18 มกราคม
จึงประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์และถือเป็นวันกองทัพไทย
พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ทุกปี
ถัดจากเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร
เป็นที่ตั้งของพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ภายในมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา
ปัจจุบันมีผู้นิยมไปสักการบูชาอยู่เสมอเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ตั้งแต่
07.00-16.30 น. และเสาร์-อาทิตย์ 07.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
+66 3552 5867, +66 3552 5880
ที่อยู่ : ดอนเจดีย์, สุพรรณบุรี
เครดิต : https://1th.me/l8JJNวัดสามชุก
แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าวัดสามชุกสร้างมาตั้งแต่สมัยใด
หากแต่ร่องรอยที่พอจะแสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่นั้น เห็นจะเป็น
รอยพระพุทธบาทจำลอง ที่ประดิษฐานภายในมณฑป
ซึ่งภายหลังกรมศิลปากรได้จดทะเบียนเป็นวัตถุโบราณ
ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในมณฑปนั้น เป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา
ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์และนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานบนศาลาการเปรียญ
นอกจากนี้ยังมีหงส์สัมฤทธิ์อีก 1 คู่ ซึ่งอดีตตั้งโดดเด่นอยู่หน้ามณฑป
ปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ที่หอสวดมนต์ 1 ตัว และกุฏิพิพิธภัณฑ์อีก 1 ตัว
สำหรับนักท่องเที่ยวที่แวะมายังไหว้พระบริเวณหอสวดมนต์ จะได้พบกับ
หลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับวัดมาช้านาน
และชาวบ้านนิยมมาสักการบูชาอยู่เป็นประจำ
เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่
09.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ +66 3557 1791, +66 3557 1108, +66
3557 2755
ที่อยู่ : 3 หมู่ที่ 1 สามชุก, สุพรรณบุรี
เครดิต : https://1th.me/yDUSg
วัดทับกระดาน
ใครก็ตามที่มาเยือนวัดทับกระดาน
จะต้องอดนึกถึงราชินีลูกทุ่งผู้ล่วงลับไปไม่ได้
เพราะวัดแห่งนี้เป็นที่เก็บรักษาสิ่งของต่าง ๆ ของพุ่มพวง ดวงจันทร์
(หรือชื่อจริงคือ รำพึง จิตรหาญ) เอาไว้
เนื่องจากที่นี่เป็นอำเภอบ้านเกิดของเธอ
และพุ่มพวงก็คุ้นเคยกับวัดนี้มาตั้งแต่เด็ก
ทางวัดจึงได้มีการเก็บเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ในการร้องเพลง
รวมทั้งรูปถ่ายจากข่าวหนังสือพิมพ์ไว้ในโบสถ์ของวัดเพื่อให้ผู้คนที่ยังรักและคิดถึงนักร้องในดวงใจ
ได้แวะเวียนมาระลึกถึง นอกจากนี้บริเวณศาลาท่าน้ำจะมีรูปวาดของพุ่มพวง
ดวงจันทร์ ที่มีคนนำมาให้เพื่อแก้บน
ส่วนศาลาริมสระน้ำมีการสร้างหุ่นพุ่มพวงเอาไว้ ให้คลายความคิดถึง และทุก ๆ
วันที่ 13 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของพุ่มพวง
ดวงจันทร์ ทางวัดจะมีการจัดงานรำลึกถึงเธออยู่เรื่อยมานับตั้งแต่ปี 2536
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ +66
3553 0113, +668 9922 6234
ที่อยู่ : 13 หมู่ 2 ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3351 หลักกิโลเมตรที่ 10 สองพี่น้อง, สุพรรณบุรี
เครดิต : https://1th.me/bCs2Z
วัดลาดสิงห์
ความกว้างใหญ่ราว 35 ไร่แห่งนี้ เป็นที่ตั้งของวัดลาดสิงห์
หรือชื่อเดิมคือวัดราชสิงห์
จากคำบอกเล่าสืบทอดกันมาว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างวัดนี้ขึ้นภายหลังจากที่ประสบชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีและทรงทราบข่าวว่า
พระสุพรรณกัลยา พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ที่ถูกจับเป็นตัวประกันที่เมืองพม่านั้นถูกประหารชีวิตเสียแล้ว
และเพื่อเป็นการล้างแค้นที่พระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าว
พระองค์จึงทรงสร้างวัดเพื่ออุทิศพระกุศลให้แด่พระสุพรรณกัลยา
ภายในบริเวณวัด จะพบกับโรงเรียนวัดลาดสิงห์ด้านซ้ายมือ
ส่วนขวามือเป็นเจดีย์สีขาว มีพระปรางค์ลีลาอยู่ข้าง ๆ
นอกจากนี้ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกมากมายภายในวัด เช่น "อุโบสถวัดลาดสิงห์"
เป็นอุโบสถไม้ที่ผสมอิฐปูน สีสันสวยงามและมีอิฐล้อมอยู่รอบ ๆ โบสถ์
ด้านหน้ามีรูปปั้นลายสิงห์คู่ ด้านในเป็นที่ประดิษฐานของ "หลวงพ่อดำ"
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลาแลง ปางสะดุ้งมาร (มารวิชัย) เกตุบัวตูม อายุประมาณ
500 ปี นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานของ "อนุสาวรีย์ 3 พระองค์"
ได้แก่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา
ได้รับความนิยมของประชาชนทั่วไปที่พากันมากราบไหว้บูชา
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 08.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ +66 3552
5867, +66 3552 5880
ที่อยู่ : หมู่ 5 ถนนเลียบคลองชลประทาน สามชุก, สุพรรณบุรี
เครดิต : https://1th.me/Ge16s
วัดพระธาตุ (วัดพระธาตุศาลาขาว)
วัดแห่งนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นวัดพระธาตุ, วัดพระธาตุศาลาขาว,
วัดพระธาตุสวนแดงหรือวัดธาตุนอกสาเหตุที่ชาวบ้านพากันเรียกว่าวัดพระธาตุสวนแดงนั้น
เป็นผลมาจากด้านทิศตะวันออกของวัด ซึ่งห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร
เป็นที่ตั้งของวัดสวนแตงและตลาดสวนแตง ส่วนที่เรียกว่า วัดธาตุนอกนี้
ก็เพื่อไม่ให้ซ้ำกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ซึ่งเรียกว่า "วัดพระธาตุใน"
เนื่องจากวัดทั้งสองมีพระปรางค์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก
ภายในวัดพระธาตุก็ยังมีสิ่งน่าสนใจมากมาย เช่น ศาลาการเปรียญ, พระปรางค์
ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแต่ขนาดย่อมกว่า
มีความสูงประมาณ 20-25 เมตร จากสภาพที่หลงเหลือปัจจุบันเป็นพระปรางค์เดี่ยว
มีบันไดและซุ้มประตู ยอดพระปรางค์มนกว่ายอดพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ซึ่งมียอดแหลม แผ่นอิฐมีขนาดเล็ก และสอด้วยปูนหวาน เนื้อหยาบ
จากหลักฐานของโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบได้จากพระปรางค์
สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างราว พ.ศ. 1967-2031 ในรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่
2 (เจ้าสามพระยา) หรือพระบรมไตรโลกนาถ ถัดจากพระปรางค์
บริเวณข้างอุโบสถวัด มีสวนหย่อมขนาดเล็กให้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ
ปัจจุบันยังเป็นสถานที่จำพรรษที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสำหรับพระภิกษุสามเณรอีกด้วย
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 08.00-17.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ +66
3552 5867, +66 3552 5880
ที่อยู่ : เมืองสุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี
เครดิต : https://1th.me/lZMu7
แสดงความคิดเห็น