วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร
ตั้งอยู่ถนนเจริญเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร พระธาตุเชิงชุม
ตั้งหันหน้าไปทางหนองหารที่อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน
ฐานรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 24 เมตร ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม
ไม่มีลวดลายประดับ
ยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุมทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท
มีซุ้มประตู 4 ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท
ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง มีซุ้มประตูหลอกแบบขอม ด้านทิศ
เหนือ ใต้ และตะวันตก ซุ้มประตูทางเข้าจริงด้านทิศตะวันออก
สร้างครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ซึ่งหมายถึง พระกกุสันทะ
พระโกนาคม พระกัสสะปะ และพระโคดม หรือพระศรีอารียเมตตรัย (คือ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชาวพุทธศาสนิกชนเคารพสักการะบูชาอยู่ทุกวันนี้)
แต่แรกเริ่มพระธาตุเชิงชุมคงเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม
ภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือ
มีจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 16
องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง
เนื่องอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างแผ่เข้ามาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ราวพุทธศตวรรษที่ 19 และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่
สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด
แต่นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาแต่โบราณ
ภายในวิหารใกล้พระธาตุเชิงชุม
เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ
และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสกลนคร
ทุกวันพระในตอนค่ำจะมีประชาชนไปบูชากราบไหว้พระธาตุ
และหลวงพ่อองค์แสนเป็นจำนวนมาก
งานประจำปีของพระธาตุเชิงชุมจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือนยี่ (2) ของทุกปี (กำหนดตามจันทรคติ) ภายในพระวิหารประดิษฐาน
หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน
เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร พ.ศ. 2370
มีการสร้างพระอุโบสถหลังเดิมหรือสิมเก่า มีลักษณะเป็นสิมแบบโถง
โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม
หันหน้าไปทางทิศใต้ ครั้งพระธานีเป็นเจ้าเมือง
ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร
หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม
มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์
ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมองค์พระธาตุเชิงชุม
เดิมมีน้ำพุผุดขึ้นมาเนื่องจากเป็นปลายทางของลำน้ำใต้ดินซึ่งไหลมาจากเทือกเขาภูพาน
ผ่านศูนย์ราชการด้านทิศเหนือ ผ่านใจกลางเมืองข้างวัดเหนือ
แล้วไหลมาผุดที่นี่ เรียกว่า "ภูน้ำซอด" หรือ "ภูน้ำลอด"
แล้วไหลผ่านไปที่สระพังทอง ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ซึ่งอยู่ติดกับวัด
เมื่อน้ำน้อยลงเรื่อย ๆ จึงได้มีการทำผนังกั้นไม่ให้ดินพังลงไป
ในอดีตจะมีการนำน้ำจากบ่อน้ำที่นี่ไปประกอบพิธีเมื่อมีพิธีกรรมอันสำคัญต่าง
ๆ อีกด้วย ภายในวัดมีหอกลองหรือหอระฆัง เป็นหอกลองสูงทั้งหมดสามชั้น
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยชาวเวียดนามที่ได้มาพำนักอาศัย ณ จังหวัดสกลนคร
ร่วมใจกันสร้างขึ้นถวายองค์พระธาตุเชิงชุมเพื่อเป็นพุทธบูชาเพื่อใช้บอกเวลายาม
ที่อยู่ : ถนนเจริญเมือง เมืองสกลนคร, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/fXIcw
ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทองหรือภูผาทอง)
ถ้ำพระพุทธไสยาสน์
(ถ้ำพระทอง หรือ ภูผาทอง) เป็นถ้ำที่ตั้งอยู่ในวัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์
ในท้องที่หมู่ 5 บ้านโคกตาดทอง ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิไปทางทิศตะวันตกประมาณ 16 กิโลเมตร
โดยระหว่างทางไปวัดจะเป็นป่าที่มีต้นไม้ครึ้มสลับกับสวนของชาวบ้านเป็นบางช่วง
วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์
นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่แสดงให้เห็นถึงความชาญฉลาดของมนุษย์ในการดัดแปลงและใช้ประโยชน์จากถ้ำ
โดยได้มีการนำเพิงหินบริเวณถ้ำมาก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นศาลาการเปรียญของวัด
บริเวณนี้เองที่เป็นจุดเยี่ยมชมสำหรับวัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์
เนื่องจากมีสิ่งน่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปประทับนอนองค์ใหญ่
พระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินบนผนังถ้ำ พระพุทธรูปเก่าแก่ปางต่าง ๆ พระนาคปรก
หรือศิลาจารึกอักษรโบราณ ที่พอจะถอดความได้ว่า "พุทธศตวรรษที่ 16 เดือนยี่
ปีมะโรง สถานที่นี้เคยเป็นที่ประชุมของคณะสงฆ์ 31 คณะ" ซึ่งโบราณวัตถุต่าง ๆ
เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของวัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ในอดีตได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้บริเวณใกล้ถ้ำ ยังมีก้อนหินธรรมชาติรูปร่างแปลก
ๆ มากมายให้นักท่องเที่ยวได้เชยชมกัน
หากคุณได้เที่ยวชมภายในถ้ำพระพุทธไสยาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขอแนะนำให้ออกมาเดินสัมผัสอากาศบริเวณลานกว้างรอบ ๆ วัด
เนื่องจากอากาศที่นี่ดีมาก
เพราะวัดตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น ทั้งนี้
จากบริเวณดังกล่าวยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันสวยงามของทิวเขาเขียวชอุ่มได้อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4251 3490-1
ที่อยู่ : หมู่ 5 วาริชภูมิ, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/yPPan
วัดใต้ต้นลาน
วัดใต้ต้นลาน
ภายในจะพบ หอพระไตรปิฎกกลางสระน้ำ เป็นหอพระไตรปิฎกที่ใช้เสาไม้ 12 ต้น
สร้างอยู่ในสระน้ำ หลังคามุงกระเบื้องมีช่อฟ้างดงาม
มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์งดงาม
นับเป็นสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาในด้านสถาปัตยกรรม
และภูมิปัญญาในการเก็บรักษาพระไตรปิฎกให้พ้นจากการทำลายของมดปลวก
อยู่ที่ตำบลไร่หลักทอง เส้นทางสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2448 มีสถาปัตยกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นที่น่าสนใจ
ทั้งศาลาการเปรียญไม้เก่าแก่ เสาหงส์คู่ และปูนปั้นรูปยักษ์หน้าอุโบสถ
พื้นอุโบสถปูด้วยกระเบื้องกังไสเก่าแก่ของจีน
และมีหอไตรกลางน้ำสร้างด้วยไม้สัก วัดใต้ต้นลาน
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง จากวัดหลวงพรหมวาสเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 3
กิโลเมตร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับภูมิต่าง ๆ สันนิษฐานว่า
เป็นภาพ ฝีเขียนยุครัตนโกสินทร์ที่มีฝีมือเยี่ยมมาก
รวมทั้งหอพระไตรปิฎกอันเก่าแก่
ที่อยู่ : สว่างแดนดิน, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/vK4Mq
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) และพิพิธภัณฑ์อาจารย์วัน อุตตโม
วัดถ้ำพวง
เป็นวัดธรรมยุตินิกายฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
ตั้งอยู่ติดกับภูเขาในเขตท้องที่บ้านท่าวัด หมู่ที่ 1 ตำบลปทุมวาปี
อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ
จังหวัดสกลนคร-จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์
บนเทือกเขาภูพานซึ่งเชื่อมต่อจากจังหวัดสกลนครที่มีนามตามชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า"ภูผาเหล็ก"
คงจะมาจากความหมายที่ว่าบริเวณพื้นที่ถ้ำพวงนั้นมีแร่เหล็กเป็นจำนวนมาก
หากนำแม่เหล็กวางลงบนพื้นดิน จะมีหินเล็ก ๆ ติดขึ้นมาเป็นพวง
กล่าวย้อนหลังไปประมาณ 70-80 ปี
บริเวณพื้นที่วัดถ้ำพวงที่ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำพวงนั้นคงจะอาศัยถ้ำเล็ก ๆ
ซึ่งมีลักษณะเหมือนอย่างพวงเกวียนหรือกระทูลเกวียน
ชาวบ้านจึงพากันเรียกถ้ำพวง และเรียกติดปากกันมาจนถึงทุกวันนี้
พื้นที่ถ้ำพวง ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต
มีหน้าผาล้อมรอบสูงชันตระการตาน่าสะพรึงกลัว มีทางขึ้นทางเดียว คือ
ทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบและสูงชันตามสภาพของภูเขา พิพิธภัณฑ์อาจารย์วัน
อุตตโม เป็นอาคารเป็นรูปทรงจตุรมุข 2 ชั้น ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง
ชั้นล่าง
ตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพวาดเกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์ตั้งแต่เกิด
ส่วนชั้นบน มีรูปปั้นของท่านในท่านั่งขัดสมาธิ
พร้อมเครื่องสักการบูชาที่ตกแต่งสวยงาม
และตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน
บริเวณใกล้เคียงกันมีถ้ำพวงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระมุจรินทร์องค์ใหญ่
และในบริเวณวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมยังมีสังเวชนียสถานจำลองสถานที่ประสูติ
ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพานจากประเทศอินเดียแห่งเดียวในภาคอีสาน
พระอาจารย์วัน อุตตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร)
ท่านเป็นพระที่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ "ทำให้ดูมากกว่าบอกให้ทำ"
ท่านจึงเป็นที่เคารพรักของศิษย์ทั่วไปปฏิปทาของท่านคือความอดทนไม่บ่นว่าร้อนมาก
หนาวมาก ท่านคงคิดว่าพูดออกไปแล้ว
ก็ไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้กระมังจึงเงียบเสีย และคำว่าเหนื่อยมาก
หิวมาก กระหายมาก ท่านก็ไม่เคยบ่น พูดไปก็คงไม่หายเหนื่อย
พูดไปแล้วคงไม่หายหิว หายกระหาย
นอกจากจะพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหนื่อยและรับประทานเสีย พระอาจารย์วัน
อุตตโม เดิมชื่อ วัน นามสกุล สีลารักษ์ เกิดวันที่ 13 สิงหาคม 2465
ที่ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ นายแหลม สีลารักษ์
มารดาชื่อ นางจันทร์ สีลารักษ์ มีพี่น้อง 2 คน พระอาจารย์วัน อุตตโม
เป็นคนโต และมีพี่น้องต่างมารดาอีก 3 คน
ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน
จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 โดยมี พระราชกวี (จูม
พันธุโล) เป็นอุปัชฌาย์ ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญิกวาส อำเภอพรรณานิคม
จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร
ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านได้พาออกเที่ยววิเวก 2 พรรษา
และพาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
อีก 2 พรรษา พรรษาที่ 5 พระอาจารย์วัน อุตตโม
ได้กราบลาอาจารย์เพื่อไปศึกษาฝ่ายปริยัติธรรมที่วัดป่าสุทธาวาส
อำเภอเมืองสกลนคร พระอาจารย์วัน อุตตโม ได้รับการชักชวนจากพระอาจารย์สิงห์
ธนปาโล ไปฝากตัวเป็นศิษย์ กับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล
ที่วัดป่าบ้านท่าฆ้องเหล็ก อยู่ใกล้กับจังหวัดอุบลราชธานี
และต่อมาท่านได้อุปสมบทที่วัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 29
มกราคม 2485 โดยมีพระครูจิตตวิโสธณาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาคล้าย
วิสารโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่ออุปสมบทเป็นพระได้ทราบข่าวการมรณภาพของพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล
ที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี จึงเดินทางไปนมัสการศพท่าน
และได้พบพระอาจารย์พรหม จิรปุญโญ ที่วัดป่าสุทธาวาส ขณะที่จำพรรษาในปี พ.ศ.
2488 พระอาจารย์วัน อุตตโม ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระอาจารย์ใหญ่ที่วัดบ้านหนองผือ
ที่อยู่ : หมู่ 1 ส่องดาว, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/OHf0E
วัดถ้ำขาม (ภูขาม)
วัดถ้ำขาม
หรือ ภูขาม ชาวบ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า
ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง
ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี
เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร
มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร
ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตร
วัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของ พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร
ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507
ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร
นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี
ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เป็นประจำ วัดถ้ำขาม
เป็นวัดที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรเป็นผู้สร้างขึ้นตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน
ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดหนองคาย ตามเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี
(ถนนนิตโย) ก่อนถึงอำเภอพรรณานิคมเล็กน้อย มีทางเข้าได้หลายเส้นทางเช่น
เส้นทางเข้าพระธาตุภูเพ็ก หรือทางบ้านไร่ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
(พระราชนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฏ์) กำเนิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.
2445 (ปีขาล) เป็นบุตรของนายอุตส่าห์ นางครั่ง ครอบครัวชาวนา บ้านนาสีดา
ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่ออายุ 18 ปี มีโอกาสติดตาม
พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกธุดงค์ และบรรพชา เป็นสามเณร
ที่วัดบ้านเค็งใหญ่ โดยมีพระอาจารย์ลุย เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาไป
ศึกษาธรรมที่วัดสุทัศนาราม เมืองอุบล และเรียนหนังสือที่วัดศรีทอง
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 อุปสมบท ณ พัทสีมาวัดสุทัศนาราม
โดยมีพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปกับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มีโอกาสวาสนากราบ
นมัสการพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ
อุดรธานีทำให้ มีกำลังจิต กำลังใจ
ในการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญความเพียรอย่างยิ่ง ครั้งสมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต ไปพำนักทางภาคเหนือ ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
ได้จาริกธุดงค์กับพระอาจารย์อ่อนสีไปกราบท่านอาจารย์ใหญ่ที่ป่าเมี่ยง
ดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ และได้ปฏิบัติธรรมในภาคเหนือ ถิ่นมูเซอร์
และมาโปรดสาธุชนแถบลำพูนจนกลับมา ภาคอีสานพำนักที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ
จังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2492 ไปเยี่ยมหลวงปู่มั่นที่อาพาธที่วัดบ้านหนองผือ
นาใน อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งท่านพระอาจารย์ใหญ่ละสังขาร
กาลต่อมาปี พ.ศ. 2493
ท่านไปจำพรรษาที่จังหวัดภูเก็ตและเผยแผ่ศาสนธรรมในภาคใต้
ร่วมกับหมู่คณะท่านพำนักที่ภูเก็ต-พังงา-กระบี่ นานถึง 15
ปีกลับมาที่ถ้ำขามสกลนคร พักจำพรรษา ปีรุ่งขึ้นจาริกมาที่วัดหินหมากเป้ง
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
ซึ่งตั้งอญู่ริมแม่น้ำโขงบรรยากาศดีเหมาะแก่การเจริญธรรมสัมมาปฏิบัติ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นสมณะผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตรอันงดงามยิ่ง
เป็นผู้นำศรัทธาในการอบรมสั่งสอนธรรมและนำสร้างศาสนสถานเพื่อการจรรโลงพระบวรพุทธศาสนาหลายแห่งในถิ่นแถบอีสาน
เป็นปูชนียาจารย์ของชนทุกระดับชั้น
ในปัจฉิมวัยท่านไปพำนักพักที่วัดถ้ำขามและละสังขารด้วยอาการสงบเมื่อวันที่
17 ธันวาคม 2537 เวลาประมาณ 21.45 น สิริรวมอายุได้ 93 ปี 71 พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ได้พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานหีบทองทึบ
และทรงรับงานบำเพ็ญกุศลอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ พิธีพระราชทานเพลิงศพ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มีที่วัดหินหมากเป้ง
นับเป็นงานพระราชทานเพลิงศพพระเถราจารย์ครั้งประวัติศาตร์
ที่อยู่ : หมู่ 14 พรรณานิคม, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/B1mAb
แสดงความคิดเห็น