พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร
ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณนานิคม ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น
ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า
และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ
และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต
รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442
ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ
วัดโพนทอง จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย
ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ความเป็นมาเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ในคืนวันที่ 4 มกราคม
พ.ศ. 2520 พระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร รวมอายุได้ 78 ปี
และหลังจากพระราชทานเพลิงศพท่านเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521
ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
เป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสได้มีการประชุมปรึกษาจะสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นเครื่องระลึกถึงพระอาจารย์ฝั้น
ผู้เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
โดยสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ตรงบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของท่าน
ความเป็นมาในการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น
อาจาโรได้มีพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
ภายหลังจากการสรงน้ำศพพระอาจารย์ฝั้น
อาจาโรว่าในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ ขอให้ทุกคนได้สามัคคีกัน
อย่าให้เกิดความแตกแยกและขอให้ยึดมั่นในคำสอนของท่านไว้ให้มั่นคง
ขอให้เก็บอัฐิของท่านพระอาจารย์ไว้แห่งเดียวกัน
เครื่องอัฐบริขารของท่านอาจารย์
ถ้าสามารถเก็บรวมรักษาไว้เป็นที่เดียวกันก็จะดี
การเดินทาง
ใช้ทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี)
เดินทางไปอำเภอพรรณานิคม ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 37 กิโลเมตร
จากนั้นเลี้ยวขวาผ่านที่ทาการอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ 2 กิโลเมตร
จะพบทางเข้าวัดป่าอุดมสมพร
ที่อยู่ : พรรณานิคม, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/fLONE
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ตั้งอยู่บริเวณกลางเทือกเขาภูพาน ในท้องที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
อยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 16 กิโลเมตร
เป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์
ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้
ในระหว่างที่ไม่มีพระองค์ใดประทับอยู่
ทางสำนักเลขาธิการพระราชวังจะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เรียกว่าเป็นสวรรค์ของคนรักต้นไม้ได้เลยทีเดียว
เนื่องจากภายในเต็มไปด้วยไม้นานาพรรณโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งนี้
พันธุ์ไม้ที่เป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ได้แก่
พันธุ์ไม้ดอกจากป่าภูพาน อาทิ ดุสิตา มณีเทวา และทิพย์เกสร
ซึ่งจะมีให้ชมเฉพาะช่วงหน้าหนาว อาคารต่างๆ ภายในเขตพระราชฐานที่เรียกรวมๆ
ว่า "หมู่พระตำหนัก" มีสไตล์การตกแต่งที่เรียบหรู ดูคลาสสิก
ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ แต่สำหรับ "พระตำหนักปีกไม้"
ที่ใช้เป็นเรือนรับรองนั้นสร้างขึ้นในรูปแบบล็อกเคบิน
ซึ่งดูดีมีเสน่ห์ไปอีกแบบ เลยจากหมู่พระตำหนักไปเล็กน้อย
มีการสร้างกระท่อมเล็ก ๆ ไว้หลายหลัง เป็นตัวอย่างของบ้านชนบทแบบดั้งเดิม
โดยมีการจัดวางเครื่องมือเกษตรและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันไว้ให้ชมด้วย
การเดินทาง: จากตัวเมืองสกลนคร ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 213 (สกลนคร-กาฬสินธุ์)
จะพบพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ตั้งอยู่ริมถนนบริเวณกิโลเมตรที่ 14
ค่าเข้าชม: ฟรี
แต่ต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมไปยังสำนักเลขาธิการพระราชวัง
พระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ 10200
เมื่อได้รับหนังสือตอบรับแล้วจึงจะเดินทางไปชมได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 0 4271 1550
ที่อยู่ : ถนนสกลนคร-กาฬสินธุ์ เมืองสกลนคร, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/kg4fJ
พระธาตุภูเพ็ก
ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม
ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 491 ขั้น
จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน
องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลง
มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ
0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา
และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น
พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16
เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู
ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่องประวัติศาสตร์
การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า
พระธาตุภูเพ็กสร้างโดยกลุ่มผู้ชายเพื่อแข่งขันกับกลุ่มผู้หญิงซึ่งสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า
แต่กลุ่มผู้ชายได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า
ซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง
ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อดาว "เพ็ก"
นักพิภพวิทยาท่านหนึ่ง คือ คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน
สนใจศึกษาการใช้แท่งหินนี้
และนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประมวลผลด้านดาราศาสตร์
พบว่าเมื่อใส่ข้อมูลพิกัดตำแหน่งของปราสาท เส้นรุ้งที่ 17
องศาเหนือและใส่วันที่ปรากฏการณ์สำคัญต่าง ๆ จะได้มุมกวาดเป็น 65, 90 และ
115 องศา ซึ่งเป็นตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้น หมุนเวียน โดยในวันเริ่มต้นของปี
จะเป็นวันที่เวลากลางวันเท่ากับเวลากลางคืน
ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม
เป็นฤดูใบไม้ผลิ หลังจากนั้นดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ เคลื่อนไปทางทิศเหนือ
จนถึงจุดที่ไกลที่สุด ซึ่งจะเป็นวันที่กลางวันยาวที่สุด ตรงกับวันที่ 21
มิถุนายน จัดว่าเป็นฤดูร้อน จ.สกลนคร
อยู่เส้นรุ้ง 17 องศาเหนือ กลางวันจะมี 13 ชั่วโมง
ขณะเดียวกันเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึงจุดที่ไกลที่สุดทางทิศใต้
ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุดในรอบปี ตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม
ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว จ.สกลนครจะมีกลางวัน 11 ชั่วโมง
ได้มีการทดสอบแนวแสงอาทิตย์ด้วยลูกดิ่งหลายครั้ง พบว่า
แนวแสงจะพาดผ่านช่องสี่เหลี่ยมช่องใดช่องหนึ่งพอดี เมื่อตรงกับวันที่
ดังกล่าวข้างต้น เพราะฉะนั้นตำแหน่งที่ใช้ก่อสร้างปราสาทขอม
ซึ่งรวมถึงปราสาทภูเพ็ก จึงต้องเป็นบริเวณที่โล่งแจ้ง
ไม่มีสิ่งรกร้างที่จะกั้นแสงอาทิตย์ได้
การสร้างปราสาทหินภูเพ็กนี้สันนิษฐานว่า
สร้างขึ้นในยุคสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณปี พ.ศ. 1742
สร้างจากก้อนหินทรายทรงสี่เหลี่ยม วางทำมุมฉาก ตามแนวทิศตะวันออก-ตก
มีศิวลึงค์อยู่ด้านตะวันออก
โดยมีด้านเปิดให้แสงอาทิตย์เข้าไปเพียงด้านเดียว ให้แสงสาดตรงที่ ณ
ตำแหน่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในปราสาท ซึ่งแสดงถึง
สะพานขอม (สะพานหิน)
สะพานหินถือเป็นโบราณสถานและขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรไว้เมื่อ
พ.ศ. 2478 ในสมัยนั้นสะพานหินกว้าง 4 เมตร ยาว 16 เมตร
สาเหตุที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเพราะมีคนเรียกว่า "สะพานขอม"
ต่อมานายกเทศมนตรีท่านหนึ่ง (นายกเทศมนตรีคนที่ 2 ของจังหวัดสกลนคร)
พิจารณาเห็นว่าสะพานหินอยู่ขวางเส้นทางถนนทำให้ถนนคดโค้ง
เพราะต้องหลบสะพานหินจึงได้ใช้หินลูกรังกลบทับสะพานหิน
ซึ่งเป็นก้อนหินธรรมชาติขนาดใหญ่นั้นทิ้งหมด
แต่ยังไม่ทันสร้างถนนตัดผ่านสะพานหินแต่อย่างใด
ครั้นเมื่อหมดสมัยนายกเทศมนตรีผู้นั้นแล้ว
นายกเทศมนตรีคนใหม่ก็เข้ามาดำเนินการขุดเอาดินลูกรังออก
และเห็นว่าสะพานของเดิมชำรุดมากจึงของบประมาณกรมศิลปากรมาสร้างใหม่แทนของเดิม
โดยใช้ก้อนหินศิลาแลงมาก่อให้เป็นรูปสะพาน มีบันไดขึ้นลง 3 ขั้น
ลักษณะทั่วไป
โดยความเป็นจริงแล้วสะพานหินของดั้งเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับการสร้างในคติขอมแต่อย่างใด
เพียงทำเป็นสะพานเพื่อให้กระแสน้ำจากหนองสนม
ซึ่งรับน้ำจากภูพานไหลผ่านลงหนองหานเท่านั้น
ในช่วงนั้นอาจใช้สะพานเป็นทางเดินผ่านออกจากตัวเมืองสกลนครไปยังนอกเมือง
ทั้งนี้เพราะที่ตั้งของเมืองสกลนครเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังง่าย
การทำสะพานจึงมีความจำเป็นสำหรับการสัญจรของผู้คน
บริเวณสะพานจะมีสถานพักผ่อนของชาวสกลนครเรียกว่า "ลานร่วมน้ำใจ"
เป็นจุดที่สามารถชมสะพานหิน
ชมประตูเมืองสกลนครซึ่งประดิษฐานรูปหล่อของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และหลวงพ่อพระองค์แสนซึ่งมีความงดงามยิ่ง
และเป็นที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ
เสด็จมากราบสักการะทุกครั้งที่ทรงแปรพระราชฐานมายังพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
เส้นทางเข้าสู่สะพานหิน สะพานหินอยู่ริมถนนนิตโย
ซึ่งเป็นถนนสายสกลนคร-อุดรธานี บริเวณปากทางเข้าออกตัวเมืองสกลนคร
เมื่อเข้าตัวเมืองสกลนคร สะพานจะอยู่ด้านขวามือ
แต่เมื่อออกจากตัวเมืองสกลนครสะพานจะอยู่ซ้ายมือ
ที่อยู่ : ถนนนิตโย เมืองสกลนคร, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/vlhHN
พระธาตุศรีมงคล
ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุศรีมงคล ตำบลบ้านธาตุ ริมเส้นทางสายวาริชภูมิ-พังโคน
ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 65 กม. ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ยอดแหลม
ตกแต่งด้วยศิลปกรรมยุคใหม่ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลายปั้นดินเผา
บริเวณฐานเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าสร้างด้วยดินเผาที่สร้างขึ้นครอบพระธาตุองค์เดิม
ซึ่งเป็นศิลาแลงที่ชำรุด การคมนาคมสะดวกรถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณวัด
นับเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาววาริชภูมิ
บริเวณที่ตั้งบ้านธาตุแต่เดิมพื้นที่เป็นป่าดง
ครั้งแรกได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อำเภอวาริชภูมิปัจจุบันนี้
เดิมเรียกว่า " เมืองวารี" มีนายเวียงแก โฮมวงศ์ เป็นหัวหน้า
พร้อมด้วยหลวงสุวรรณราช (กะยะ) ต้นตระกูลของสกุล "บุญรักษา" นายจันทะ-เนตร
โฮมวงศ์ นายเมืองกาง หัศกรรจ์ หลวงแก้ว (ไม่ทราบนามสกุล) นายบุตราช
บุญรักษา และนายจันด้วง แก้วคำแสน ได้พากันออกมาหักร้างถางพงไพร เพื่อทำไร่
แต่พอถางลึกเข้าไปก็พบองค์พระธาตุร้างอยู่ในดง จึงชะงักการถากถาง
เพราะกลัวอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุนี้จะลงโทษ
ดังนั้นได้จึงนิมนต์ท่านพระครูหลักคำ ประธานสงฆ์เมืองวารี มาพิจารณา
ท่านเห็นว่าสถานที่บริเวณนี้เป็นมงคล
เหมาะที่จะสร้างหมู่บ้านได้จึงได้พร้อมใจกันถากถางบริเวณพระธาตุร้างนี้พร้อมทั้งได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแผ่ไปให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาองค์พระธาตุ
และได้สร้างวัดตรงนั้น ท่านพระครูหลักคำได้ตั้งชื่อพระธาตุร้างนั้นว่า
"พระธาตุศรีมงคล" ตั้งชื่อวัดว่า "วัดธาตุศรีมงคล" เมื่อประมาณ พ.ศ. 2444
และเรียกหมู่บ้านว่า "บ้านธาตุ" จนปัจจุบันนี้
ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่เมืองวารี
ประกอบกับทำเลตั้งบ้านเรือนคับแคบและเป็นที่ลุ่ม หน้าฝนบางครั้งน้ำท่วม
ผู้คนจึงได้แยกย้ายอพยพออกไปจากเมืองวารีทางด้านทิศเหนือ
ไปอยู่ที่บ้านพังฮอ ทางด้านทิศใต้ไปอยู่ที่บ้านห้วยบาง
และทางทิศตะวันออกไปอยู่ที่บ้านธาตุจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนวัดธาตุศรีมงคล
ได้มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลมาตามลำดับ นับแต่เจ้าอาวาสองค์แรก พ.ศ. 2444
คือท่านพระครูพร
ซึ่งเป็นลูกผู้ไทยบ้านธาตุมาจนถึงพระครูศรีเจติยานุ-รักษ์องค์ปัจจุบัน
รวมทั้งหมดมี 13 องค์
ส่วนพระธาตุศรีมงคลนั้นสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด
ภายในพระธาตุนั้นมีวัตถุโบราณอันล้ำค่ายิ่ง เช่น
พระพุทธรูปที่ทำด้วยทองคำบ้าง ทองสัมฤทธิ์บ้าง
และทำด้วยวัตถุอย่างอื่นอีกมากมาย จะเห็นได้จากเมื่อพระธาตุสลักหักพังลงมา
ชาวบ้านก็ได้รวบรวมโบราณวัตถุเหล่านั้นรักษาไว้ในสถานที่อันสมควร
เพื่อการสักการบูชา มีพระพุทธรูปต่าง ๆ จำนวนมาก
ต่อมามีผู้แสวงหาวัตถุโบราณขโมยไปบางอย่าง
ส่วนที่เหลือก็ได้รวบรวมบรรจุไว้ในองค์พระธาตุทั้งหมด กล่าวกันว่า
พระธาตุศรีมงคลนี้ได้สร้างคู่กับพระธาตุดงเชียงเครือ
ซึ่งตั้งอยู่ห่างไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตร สันนิษฐานว่า
พะธาตุทั้งสองแห่งนี้ได้สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์
ที่อยู่ : หมู่ 3 วาริชภูมิ, สกลนคร
เครดิต : https://1th.me/F3SVm
แสดงความคิดเห็น